Search

เปิดประสบการณ์คนไทยในนิวยอร์ก ใช้ชีวิตอย่างไรหลังติด ‘โควิด-19’ ทั้งครอบครัว - วีโอเอไทย - VOA Thai

nycpolitic.blogspot.com

นิศากร คิสเป ชาวไทยในนครนิวยอร์ก เป็นหนึ่งในผู้คนจำนวนมากที่ติดเชื้อโควิด19 ในช่วงที่นครใหญ่แห่งนี้ตกเป็นศูนย์กลางการระบาดใหญ่ของโลก เมื่อปลายเดือนมีนาคม

“..คือเรารู้สึกว่าเราเป็นไม่เยอะ เพราะว่าเป็นไข้ต่ำๆ ปวดเนื้อปวดตัวก็กินยาแก้ปวด เราก็หาย เราก็ไม่ได้ไอถึงขั้นน่ากลัว อะไรแบบนี้ ซักประมาณ 1 อาทิตย์ผ่านไป ถึงจะเริ่มไอเยอะ แล้วก็เริ่มหายใจไม่สุด คือพอเราหายใจเข้านับ หนึ่ง สอง สาม ก็จะไอออกมาเลย แล้วมันก็เริ่มมีอาการ กินอาหารแล้วไม่มีรสชาติเลย เริ่มตั้งแต่วันแรกกินอาหารปกติเข้าไปก็รู้สึกว่า ทำไมมันเค็มแบบนี้..” นิศากร เล่าให้วีโอเอ ไทย ถึงอาการในระยะแรก

New York City
New York City

นิศากร บอกว่า แม้จะระมัดระวังตัวและป้องกันอย่างเต็มที่ ไม่พบปะผู้คนไม่ได้สัมผัส หรือ พูดกับใครในระยะใกล้ชิด แต่กลับได้รับเชื้อมาโดยไม่ทราบสาเหตุ

“ ช่วงนั้นเป็นช่วงที่คนที่นี่ยังไม่ใส่หน้ากากกัน มีเราคนเดียวเดินใส่หน้ากาก คนก็เลยคิดว่าเราไม่สบาย ก็จะไม่มีใครอยู่ใกล้ ..ช่วงนั้นไม่ได้เจอใครเลย คือนิวยอร์กเริ่มชัทดาวน์แล้ว แล้วเราก็เลือกเวลา คือที่ทำงานเป็น Essential Business (ธุรกิจจำเป็น)ที่เปิดกิจการต่อไปได้ ก็เลือกที่จะเข้าไปทำงานเวลาที่ทุกคนออกไปที่ไซท์งานข้างนอกหมดแล้ว เพราะฉะนั้นเวลาออกจากบ้าน ขึ้นรถ ขับรถไป นั่งทำงาน และกลับก่อนที่ทุกคนจะกลับเข้ามา เพราะฉะนั้นออกไปเนี่ย จะไม่เจอใครเลย มั่นใจว่าไม่เจอใคร เลยไม่คิดว่าติด และไม่รู้ว่าติดได้ยังไงด้วย..”

ติด โควิด19 ทั้งครอบครัว 4 ชีวิต ลูกชายเป็นโรคหอบหืด

หลังจากมีอาการป่วยไม่กี่วัน เธอพบว่าทุกคนในบ้านติดเชื้อจากเธอ และเริ่มล้มป่วย โดยเฉพาะลูกชายคนโตวัย 6 ขวบที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจ

“ ตอนนั้นที่เป็นห่วงจริง ๆ เนี่ย ห่วงลูกคนโต เพราะเป็นหอบ และก็เด็ก ๆ เนี่ยจะมีไข้ต่ำ ๆ ประมาณ 100 – 100.4 องศาฟาเรนไฮซ์ ข้อจำกัดที่จะต้องกังวล ก็เอาอยู่ แล้วก็ใช้แผ่นเจล(ลดไข้)แปะ คนละ 2 คืนแค่นั้นเอง ที่มีไข้ต่ำๆ ส่วนคนที่เป็นหอบ อาการหอบกำเริบแค่คืนเดียว ซึ่งเราดีลกับโรคหอบลูกมาเยอะ พอลูกเริ่มมีอาการ ก็เลยให้ยาตามปกติที่เราเคยให้ พ่นยา 2-3 รอบก็หาย เด็กพอจบเซ็ทนั้น คือจบแล้ว ไม่เป็นอะไรแล้ว ..

อาการโรคนี้มันแปลกอย่างหนึ่งคือ สมมุติตอนนี้เราไอมาก เราทรุด เรารู้สึกแย่นะ ซักชั่วโมงนึงมันก็จะหยุด มันเหมือนให้เราพัก แล้วเดี๋ยวก็จะกลับมาทรุดอีก  มันเป็นแบบเปิด ๆ ปิด ๆ อยู่แบบนี้ ...

Nisakorn Quispe with her 2 and 6 years old son, Napat and Navin, wearing a protective face mask on April 18, 2020, at their home in Queens, New York City
Nisakorn Quispe with her 2 and 6 years old son, Napat and Navin, wearing a protective face mask on April 18, 2020, at their home in Queens, New York City

“..คือตอนที่เราติดเราไม่รู้ว่าเราเป็นหรือเปล่า เราก็เลยไม่ได้รักษาอะไร ไม่ได้ทำอะไรเลย แต่ตอนที่แฟนเริ่มไอครั้งแรกปุ๊บเนี่ย เขารู้เลยว่า โอเค ใช่ละ เขากลั้วคอด้วยน้ำอุ่นผสมเกลือตามที่หมอบอก เขา ทุกชั่วโมงเลย เขาจะบอกว่าเขาจะไม่ให้เชื้อลงปอด แล้วก็ไม่รู้ว่าวิธีของเขามันถูกหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ เขาไม่เป็นอะไร แค่ไออย่างเดียว แล้วก็จะป่วยอยู่แค่ 2 อาทิตย์แค่นั้น แล้วภายใน 2 อาทิตย์จะมี 1-2 วันที่เขารู้ว่าว่าเจ็บเหมือนมีอะไรมาทิ่มหน้าอก แต่ไม่นานก็หายไป และเขาก็ไม่ได้เป็นหนักเลย..”

ไม่ไปโรงพยาบาล เพราะคนไข้ล้น หาทางรอดชีวิตด้วยตัวเอง

ข้อจำกัดทางการแพทย์ในช่วงการะบาดใหญ่ที่มีคนป่วยล้นโรงพยาบาลทั่วนครนิวยอร์กคือเหตุผลที่ทำให้นิศากร และครอบครัว เลือกที่จะไม่ไปโรงพยาบาล แต่ก็ใช้การรับประทานยารักษาตามอาการเพื่อไม่ทำให้ทรุดหนัก

“.. อาการโรคนี้มันแปลกอย่างหนึ่งคือ สมมุติตอนนี้เราไอมาก เราทรุด เรารู้สึกแย่นะ ซักชั่วโมงนึงมันก็จะหยุด มันเหมือนให้เราพัก แล้วเดี๋ยวก็จะกลับมาทรุดอีก มันเป็นแบบเปิด ๆ ปิด ๆ อยู่แบบนี้ คือมันไม่ได้ทรุดอยู่ตลอดทั้งวัน ทุกวัน ตื่นนอนตอนเช้ารู้สึกสดใส เหมือนไม่เป็นไรแล้ว พอเดินไปเดินมาซัก 2 ชั่วโมง กลับมาทรุดอีกแล้ว แต่อีกประมาณ 2 ชั่วโมงมันก็เริ่มดีขึ้นเหมือนได้พัก แล้วมันก็จะทรุดอีก เราก็เลยไม่รู้สึกว่าตัวเองถึงจุดที่จะต้องไปโรงพยาบาล..

New York Hospital
New York Hospital

นิศากร บอกด้วยว่า ในชั่วโมงแห่งการเจ็บป่วยนั้น นอกเหนือภาวนาขอให้โชคดีแล้ว การเตรียมพร้อม กำลังใจ และการมองโลกในแง่ดีเพื่อเอาชนะโรคร้ายคือสิ่งสำคัญ

ในเมื่อมันเกิดมาแล้วก็มองด้านดีของมัน และก็มีความสุขกับมันดีกว่า ...

“ ชุดตรวจมันยังไม่เยอะเท่าตอนนี้ หมอบอกเลยว่า เขามีชุดตรวจถ้ามาก็ต้องเข้ารับการรักษา แต่ถ้าจะมาเพื่ออยากรู้หรือเปล่า เขาขอเก็บเอาไว้ให้คนที่จำเป็นจริง ๆ ดีกว่า เราก็เลยคิดว่าไม่ไปดีกว่าเพราะมั่นใจจากอาการว่าเป็นแน่ ๆ..

.. คือถ้าเป็นปกติ ไม่สบายนิดเดียวก็จะไปหาหมอแล้ว แต่ชั่วโมงนั้นพอหมอบอกว่า มาตรวจได้นะถ้าไม่ไหว แต่ว่ามีชุดตรวจน้อยขอเก็บไว้ให้คนที่เป็นหนักได้ไหม ? เราก็ไม่ได้คิดว่า ทำไมไม่สบายแล้วหมอก็ไม่ตรวจ เราไม่ได้คิดอะไรแบบนั้นเลย คือคิดแค่ว่าเขามีแบบนี้ เขามีปัญหาแบบนี้ คนป่วยเยอะกว่าเราเยอะมาก แล้วเราจะไปยืนโวยวายที่ห้องฉุกเฉิน ว่าทำไมหมอไม่ตรวจฉัน ก็ไม่ได้ป่ะ? คือในเมื่อมันเกิดมาแล้วก็มองด้านดีของมัน และก็มีความสุขกับมันดีกว่า..”

Nisakorn Quispe, a Thai diaspora in New York City who was diagnosed with coronavirus and recovered, has donated her plasma to try to help others fighting the disease.
Nisakorn Quispe, a Thai diaspora in New York City who was diagnosed with coronavirus and recovered, has donated her plasma to try to help others fighting the disease.

กินยาลดไข้ แก้ไอ ตามอาการ จิบน้ำบ่อยๆ

"..ส่วนยาที่กินนั้น หมอบอกให้ไปหาซื้อยามารับประทาน คือตัวยา อะเคเตมีนนอเฟน (Acetaminophen) ไปร้านขายยาแล้วแต่ไม่มีขาย ก็เลยต้องโฟสต์เฟสบุ๊ค ถามว่าใครมียาตัวนี้ หรือ มียาไทลินอล (ลดไข้ แก้ปวด) บ้าง โชคดีที่มีเพื่อนแบ่งมาให้ รวมทั้ง วิตามินซี ด้วย ซึ่งก็อัดวิตามินซีวันละ 2,000 มิลลิกรัม และยาแก้ปวด รวมทั้งดื่มน้ำตลอดเวลา ทุก 10-15 นาทีจิบตลอด เพราะถ้าไม่จิบจะไอ..”

นิศากร และครอบครัว ใช้เวลาราว 3 สัปดาห์ รักษาอาการป่วยของครอบครัวด้วยตัวเอง โดยไม่ได้ออกไปไหน ก่อนจะค่อยๆรู้สึกดีขึ้น และเข้ารับการตรวจแอนตี้ บอดี เพื่อยืนยันการหายจากโรคโควิด19

ป่วยกายส่วนหนึ่ง แต่ถ้าใจสบายช่วยได้เยอะ

สิ่งเหล่านี้คือประสบการณ์สำคัญที่เธอได้รับ และอยากถ่ายทอดและบอกเล่าสำหรับผู้ที่อาจจะต้องเผชิญชะตากรรมแบบเดียวกัน

"..ช่วงเวลาที่มันหนัก ๆ แย่ ๆ ครอบครัวคนข้างตัวเขาไม่ไปไหนเลย เขาอยู่กับเราตลอด ขนาดเราไอ เขาจะติดจากเราด้วยซ้ำ เขาก็มานั่งเฝ้า แม้จะไม่ได้นอนห้องเดียวกัน เพราะกลัวจะติด แต่เขาก็ไปนั่งเฝ้าที่ประตู หรือที่ห่าง ๆ หน่อยที่ถ้าเราไอแล้วจะไม่ไปถึงเขา หรือว่า ลูกเราพอรู้ว่าเราไม่สบาย ก็ไม่งอแง ก็บอกแม่ไม่สบายนะ อย่าดื้อนะ ต้องกินข้าวนะ เขาก็ไม่งอแง บางทีเห็นแม่ไอ ก็ไปหยิบน้ำมาให้ พอได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว เรามีความสุขกับตรงนี้มากกว่า

“..เราก็เลยรู้สึกว่าถ้าเราได้แชร์ แล้วเรื่องนี้มันเป็นเรื่องใหม่ ที่ไม่มีหมอสรุปเลยว่าอาการจะเป็นยังไง หนึ่ง สอง สาม ตามสเต็ป ไม่มี เพราะทุกคนเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่นทั้งนั้น เพราะฉะนั้นถ้าเราได้แชร์ประสบการณ์ หรือ ได้เล่าให้ใครฟัง แล้วเขาได้เรียนรู้จากเราไป ถึงแม้อาการเขาจะไม่เหมือนเรา แต่อย่างน้อยเขาจะได้ฟังเรา และเขาคิดหรือว่ารู้สึกดีๆกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้เนี่ย คือป่วยกายมันก็ส่วนหนึ่ง แต่หากว่าใจสบายก็สามารถช่วยได้เยอะ..”

Virus Outbreak New York Daiy Life
Virus Outbreak New York Daiy Life

การได้กลับมาใช้ชีวิต ทำกิจกรรมตามปกติ หลังสมาชิกทุกคนในครอบครัวหายขาดจากอาการป่วยโรคโควิด ถือเป็นกำลังใจสำคัญของนิศากร ที่ได้ก้าวพ้นและเอาชนะวันเวลาที่ยากลำบากมาได้ แต่ขณะเดียวกันการปรับตัวเข้ากับสภาวะปกติใหม่ ที่ไม่มีวันเหมือนเดิมก็เป็นเรื่องจำเป็น และหวังว่าสถานการณ์การระบาดที่เลวร้ายที่สุดนี้จะผ่านพ้นไปโดยเร็ว




July 14, 2020 at 10:34AM
https://ift.tt/2Wh49n3

เปิดประสบการณ์คนไทยในนิวยอร์ก ใช้ชีวิตอย่างไรหลังติด ‘โควิด-19’ ทั้งครอบครัว - วีโอเอไทย - VOA Thai

https://ift.tt/2XDWT5R


Bagikan Berita Ini

0 Response to "เปิดประสบการณ์คนไทยในนิวยอร์ก ใช้ชีวิตอย่างไรหลังติด ‘โควิด-19’ ทั้งครอบครัว - วีโอเอไทย - VOA Thai"

Post a Comment

Powered by Blogger.